บทที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้
การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ
ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
1. จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้
และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์
และด้านการปฏิบัติ
2. ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก
สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3. ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน
เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4. ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น
อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ
ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
สาขาของจิตวิทยา
1. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ๆ หรือกับสังคม
2. จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ
ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3. จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Psychology in Teaching and
Learning ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาคลีนิค ( Clinical Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์
และวิธีการบำบัดรักษา
5. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้
และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6. จิตวิทยาประยุกต์ ( Applied Psychology ) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ
ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง
การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7. จิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น
พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป
หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
พฤติกรรม ( Behavior)
การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม
การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ พฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท
พฤติกรรมภายนอก ( Overt Bahavior)
พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้โดยตรง
หรือใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น การพูด การเดิน ฯ ล แบ่งได้ 2 ประเภท
1. พฤติกรรมโมลาร์ ( Molar B.) วัดได้โดยตรงจากประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เช่น การเดิน การนั่ง
2. พฤติกรรมโมเลกุล ( Molecula B.) ไม่สามารถวัดได้โดยประสาทสัมผัส
แต่วัดได้โดยเครื่องมือ เช่น วัดการเต้นของหัวใจ
พฤติกรรมภายใน ( Covert Bahavior)
พฤติกรรมที่ไม่สามารถวัดโดยตรง และเครื่องมือก็ไม่สามารถวัดได้
ต้องอาศัยการอนุมาน จากพฤติกรรมภายนอก เช่น การจำ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
เจตคติ
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)
การเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
1. พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ – จำ ความเข้าใจ
2. พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
3. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท
กฎการเรียนรู้ 3 กฎ
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ
การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอใจ
2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง
1. กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ
การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
2. กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
3. กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines)การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน
หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้
ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท
1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
- เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน
ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
- การเตะบอล
นำไปสู่การเล่นทีม
2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง
- การขับรถเมืองไทย
เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
ปัจจัยเสริมการเรียนรู้
1. แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา
แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- แรงขับปฐมภูมิ
(Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก
เช่น หิว กระหาย อยากเรียน
- แรงขับทุติยภูมิ
(Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก
เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล
2. ความพร้อม (Readiness) ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
พร้อมที่จะตอบสนองกับสิ่งที่มาเร้า
- ทางร่างกาย
ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity)
- ทางจิตใจ ได้แก่ ความพอใจ
· วุฒิภาวะ (Maturity) การบรรลุถึงขั้นความเจริญเติบโตเต็มที่ ในระยะใดระยะหนึ่ง
และพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้พอเหมาะกับวัย
องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
1. วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
2. ประสบการณ์เดิม (Experience)
3. การจัดบทเรียนของครู
โดยดูพื้นฐานของเด็กว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบางมากน้อยเพียงใด
4. การสอนของครู ครูควรสอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม
และครูเป็นผู้สร้างความพร้อมให้กับนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น